มาพูดถึง Pictograms ในโอลิมปิกครั้งนี้กันบ้าง เพราะนอกจากจะเป็นภาษาสากลที่ใช้ระบุประเภทกีฬาในโอลิมปิก และพาราลิมปิก ยังเป็นสัญลักษณ์ที่สะท้อนถึงสไตล์ และวัฒนธรรมของประเทศเจ้าภาพอีกด้วย Paris 2024 ครั้งนี้ก็เลยออกมาเป็น ‘ตราแห่งเกียรติยศ’ ที่หลอมรวมศิลปะ และกีฬาตามแบบฉบับฝรั่งเศส



ถ้าย้อนกลับไปตอนโอลิมปิกเมื่อปี 2021 ที่ญี่ปุ่น หนึ่งในโชว์ที่ได้รับเสียงฮือฮามากๆ ก็คือการแสดงเป็นสัญลักษณ์กีฬาต่างๆ ของ 'Pictogram-san' จนเหมือนเราได้ดูเกมโชว์ญี่ปุ่นแบบสดๆ ในพิธีเปิด https://t.co/7eXLkOWERv
ขอแนะนำ 'พิคโทแกรม-ซัง' ! ผู้เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว
— Art of (@artofth) July 24, 2021
เมื่อคืนนี้มีพิธีเปิด #TokyoOlympic2020 พร้อมกับโชว์ที่น่าตื่นตาตื่นใจต่างๆ แน่นอนว่าโชว์ที่ได้รับความสนใจมากที่สุดก็คือการแสดงเป็น Pictogram สัญญลักษณ์กีฬาต่างๆ ในโอลิมปิกแบบสดๆ กลางสนามนั่นเอง #ARTofชอบเล่า #OLYMPIC2020 pic.twitter.com/5oQ9Gzxgbx
🇫🇷 Paris 2024: มากกว่าแค่ Pictogram แต่เป็นตราแห่งเกียรติยศ การออกแบบ Pictograms ในโอลิมปิกครั้งนี้ นอกจากฟังก์ชันในการสื่อสารถึงชนิดกีฬาต่างๆ ยังพยายามที่จะเปลี่ยนให้เป็นตราแห่งเกียรติยศ ที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกภาคภูมิใจ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกลุ่มในในกีฬาแต่ละชนิด




🇫🇷 การออกแบบ Pictograms ทั้ง 62 แบบ มีพิคโทแกรมทั้งหมด 62 แบบสำหรับกีฬาต่างๆ ในโอลิมปิก และพาราลิมปิก (พาราลิมปิกมี 15 แบบ และใช้ร่วมกับโอลิมปิกอีก 8 แบบ) ซึ่งเต็มไปด้วยสไตล์ และความสง่างามตามแบบฉบับ ‘ฝรั่งเศส’ ที่ศิลปะ และกีฬารวมกันเป็นหนึ่งเดียว


แต่ถ้ามองภาพรวมจะค่อนข้างแตกต่างกับปีก่อนๆ ตรงที่ไม่ได้มี ‘คน’ อยู่ภาพ แต่กำหนดองค์ประกอบหลักในการออกแบบ 3 ข้อ 1. ตั้งต้นด้วยแกนสมมาตร (Axis of Symmetry) 2. ภาพพื้นสนาม (Depiction of the Ground) 3. ภาพตัวแทนที่สื่อถึงกีฬา (Representation of the Sport)

ซึ่งแม้ว่าทั้งหมดนี้จะออกแบบมาได้สร้างสรรค์สวยงามสมเป็นฝรั่งเศส (ที่ปกติการออกแบบจะคิดซับซ้อนเป็นปกติด้วย) แต่ก็ยังมีข้อกังวลในการใช้งานจริงอยู่เหมือนกัน ว่าจะไม่สามารถสื่อสารได้เข้าใจง่าย แบบที่เห็นแล้วเข้าใจได้ทันทีว่าคือกีฬาอะไร ตามวัตถุประสงค์หลักของ Pictograms
